ผักกาดหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactuca sativa เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae ลำต้นเตี้ย แต่ส่วนที่เจริญมากที่สุดคือใบ แต่ละสายพันธุ์ก็มีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป ประเทศจีนปลูกผักกาดหอมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกเช่น ผักสลัด ผักกาดยี พังฉ้าย เป็นต้น
มนุษย์นำใบของ ผักกาดหอม มาบริโภค มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับอาหารรสจัดจำพวกยำหรือลาบ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ หรือแม้แต่ใช้เป็นผักตกแต่งเพื่อความสวยงาม ผักกาดหอมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาลงานต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ จะขายดีเป็นพิเศษ
สายพันธุ์ของ ผักกาดหอม แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- ผักกาดหอมที่ห่อหัวคล้ายกะหล่ำปลี (head lettuce)
- ผักกาดหอมชนิดธรรมดาไม่ห่อ (leaf lettuce)
- ผักกาดหอมที่มีลำต้นยาว (stem lettuce)
ในประเทศไทยนิยมปลูก 2 ประเภท ได้แก่

- คริสป์เฮด (Crisp Head) หรือไอซ์เบิร์ก (Iceberg) คือผักกาดหอมห่อหรือผักกาดแก้ว มีลักษณะใบบางกรอบและขอบใบหยัก ปลูกได้ในระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม แต่ปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนพอปลูกได้บ้างในบริเวณที่สูงทางภาคเหนือบางเขต ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 15.5–21 องศาเซลเซียส พันธุ์คริสป์เฮดเช่น
– เกรต เลก 659 (Great Lake 695 TARII) เป็นพันธุ์หนักปานกลาง ใบสีเขียวเข้มหยัก พันธุ์นี้ไม่ค่อยมีปัญหาใบไหม้ (Sun burn)
– เกรต เลก 366 (Great Lake 366 TAII) เป็นพันธุ์ค่อนข้างเบา หัวห่อกลม มีใบสีเขียว รอบนอกใบหยัก มีความต้านทานโรคใบแห้วทิปเบิร์น (Tip Burn)
– ซัมเมอร์ เลก (Summer Lake) เป็นพันธุ์เบา หัวห่อกลมสีเขียวอ่อน ใบหนัก
- ลีฟ (Leaf) หรือลูสลีฟ (Loose Leaf) คือผักกาดหอมใบหยิก ใบมีลักษณะหยิกเป็นคลื่นสีของใบ มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนจนถึงสีแดง แต่เรามักจะพบเห็นใบสีเขียวอ่อนมากกว่า พันธุ์นี้สามารถปลูกได้ตลอดปี และจะปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม–เมษายน อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 21-26.6 องศาองศาเซลเซียส พันธุ์ลีฟเช่น
– แกรนด์ แรปปิด (Grand Rapid) มีใบสีเขียวอ่อน ใบม้วนและหยักอัดกันแน่น ต้นใหญ่เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด
– แบล็ก ซีดเดด ซิมป์สัน (Black Seeded Simpson) เมล็ดสีดำ มีต้นใหญ่ ใบหยักฝอยยู่ยี่อัดกันแน่นมาก
วิธีปลูก ผักกาดหอม หรือผักสลัด พืชมากคุณประโยชน์
การปลูกผักกาดหอมหรือผักสลัด เป็นผักที่ปลูกค่อนข้างยากเนื่องจากเป็นพืชที่จำเป็นต้องการสารเคมีเป็นจำนวนมาก ต้องดูแลเอาใจใส่ และเนื่องจากผักกาดหอมเป็นผักประเภทลำต้นเตี้ย ทำใบยอดของผักกาดหอมติดกับพื้นดิน จึงง่ายต่อแมลงศัตรูและโรค การปลูกผักกาดหอมหรือผักสลัด เป็นผักที่สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ แต่จะปลูกได้ดีในดินร่วน และเป็นพืชที่ชอบแดดจัด
ขั้นตอนการปลูกผักกาดหอมหรือผักสลัด

- การเตรียมดิน การปลูกผักกาดหอมหรือผักสลัด สามารถปลูกได้หลายแบบ นิยมปลูกในถุงดินก็ได้ หรือ ปลูกในถาดหลุมก็ได้แล้วแต่จะสะดวก จากนั้นนำดิน ปุ๋ยคอกและขุยมะพร้าว ผสมกันในอัตรา1:1 จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 7 วัน
- นำปุ๋ยที่ผสมแล้ว มาใส่ในดินหรือถาดหลุม ให้เต็มแล้วใช้ไม้จิ้มลงกลางหลุมแล้วหยอดเมล็ด ผักกาดหอมลงไป1-2เมล็ด แล้วกลบด้วยดินหรือวัสดุบางๆ จากนั้นรดน้ำแล้วนำไปไว้ในที่ร่มรำไร
- การรดน้ำ ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ2ครั้ง เช้าและเย็น
- เมล็ดผักกาดหอมจะงอกหลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 3-5วัน
- เมื่อครบ7วัน หรือมีใบ3-5ใบ จากนั้นนำถุงดินไปวางที่แดด เพราะผักกาดหอมเป็นพืชที่ชอบแดด
- เมื่อครบ 40-45 ก็สามารถนำมาจำหน่าย หรือ รับประทานได้เลย *คำแนะนำควรรีบตัดผักกาดหอมอย่าปล่อยให้แก่เพราะจะทำให้แข็งและขมไม่น่ารับประทาน
การดูแลรักษาผักกาดหอม
ผักกาดหอม เป็นผักรากตื้น ดังนั้นการให้น้ำจึงควรให้อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ โดยระยะเวลา 2สัปดาห์แรกควรรดน้ำทุกวันเช้า-เย็น โดยพ่นน้ำเป็นละอองเล็กๆเพื่อไม่ให้น้ำชุ่มแฉะมากเกินไป ข้อควรระวังคือไม่ควรรดน้ำไปถูกหัวผักกาดหอมเพราะอาจจะทำให้เน่าได้ ส่วนการใส่ปุ๋ยผักกาดหอม ผักกาดหอมจะใส่ปุ๋ยครั้งเดียวตอนเตรียมดินเท่านั้น
สรรพคุณของผักกาดหอม
- ผักกาดหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้ (ใบ)
- น้ำคั้นจากทั้งต้นนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ทั้งต้น)
- ช่วยในการนอนหลับ ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย แก้อารมณ์เสียง่าย โดย ดร.ดันแคน (แพทย์ยุคกลางชาวอังกฤษ) ระบุว่าในใบหรือก้านของผักกาดหอมจะมีสารรสขมที่มีชื่อว่า “แลกทูคาเรียม” (Lactucarium) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการง่วงนอน ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย การรับประทานผักกาดหอมแบบสด ๆ ก่อนนอนหรือรับประทานเป็นอาหารมื้อเย็น จึงช่วยทำให้เรานอนหลับได้สบายยิ่งขึ้นนั่นเอง
- ผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบโดยส่วนมาก จึงเป็นผักที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผักกาดหอมอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือดหรือฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย หรือมีสมาธิสั้น การเรียนรู้ลดลง
- น้ำคั้นจากใบช่วยแก้ไข้ได้ (ใบ)
- น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาแก้ไอได้เป็นอย่างดี (ใบ)
- เมล็ดผักกาดหอมตากแห้งประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ถ้าหากใช้ต้นให้ใช้เพียงครึ่งต้นรับประทานเพื่อช่วยขับเสมหะและแก้อาการไอ และไม่ควรใช้มากเกินไป (เมล็ด, ต้น)
- น้ำคั้นจากใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (น้ำคั้นจากใบ)
- ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)
- การรับประทานผักกาดหอมจะช่วยในการขับถ่าย ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกได้ (ทั้งต้น)
- น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้เป็นยาระบายได้ (ทั้งต้น)
- ช่วยขับลมในลำไส้ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)
- ช่วยขับพยาธิ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)
- ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำคั้นจากใบ, เมล็ด)
- ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เมล็ด)
- เมล็ดผักกาดหอมใช้รักษาโรคตับ (เมล็ด)
- น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้ทาฝีมะม่วงที่รีดเอาหนองออกแล้วได้ (ทั้งต้น)
- ช่วยระงับอาการปวด (เมล็ด)
- ช่วยแก้อาการปวดเอว (เมล็ด)
- เมล็ดผักกาดหอมช่วยขับน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตร (เมล็ด)
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม (ชนิดใบสีเขียว) ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 15 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 2.87 กรัม
- น้ำ 94.98 กรัม
- น้ำตาล 0.78 กรัมรูปผักกาดหอม
- เส้นใย 1.3 กรัม
- ไขมัน 0.15 กรัม
- โปรตีน 1.36 กรัม
- วิตามินเอ 7,405 หน่วยสากล
- วิตามินบี 1 0.07 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.08 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 0.375 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 6 0.09 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 9 38 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 9.2 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 0.22 มิลลิกรัม
- วิตามินเค 126.3 ไมโครกรัม
- ธาตุแคลเซียม 36 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.86 มิลลิกรัม
- ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม
- ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม
- ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม (ชนิดใบสีแดง) ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 16 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 2.26 กรัม
- น้ำ 95.64 กรัมผักสลัดสีแดง
- น้ำตาล 0.48 กรัม
- เส้นใย 0.9 กรัม
- ไขมัน 0.22 กรัม
- โปรตีน 1.33 กรัม
- วิตามินเอ 7,492 หน่วยสากล
- วิตามินบี 1 0.064 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.077 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 5 0.321 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 6 0.1 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 3.7 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม
- วิตามินเค 140.3 ไมโครกรัม
- ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม
- ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม
- ธาตุโพแทสเซียม 187 มิลลิกรัม
- ธาตุโซเดียม 25 มิลลิกรัม
- ธาตุสังกะสี 0.2 มิลลิกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม (ชนิดห่อหัวไม่แน่น) ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 13 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 2.23 กรัม
- น้ำ 95.63 กรัม
- น้ำตาล 0.94 กรัม
- เส้นใย 1.1 กรัม
- ไขมัน 0.22 กรัม
- โปรตีน 1.35 กรัม
- วิตามินเอ 3,312 หน่วยสากล 21%
- เบตาแคโรทีน 1,987 ไมโครกรัม 18%ผักกาดหอมห่อ
- ลูทีนและซีแซนทีน 1,223 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 1 0.057 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 2 0.062 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 5 0.15 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 6 0.082 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินบี 9 73 ไมโครกรัม 18%
- วิตามินซี 3.7 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินอี 0.18 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินเค 102.3 ไมโครกรัม 97%
- ธาตุแคลเซียม 35 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุเหล็ก 1.24 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุแมงกานีส 0.179 มิลลิกรัม 9%
- ธาตุฟอสฟอรัส 33 มิลลิกรัม 5%
- โพแทสเซียม 238 มิลลิกรัม 5%
- ธาตุโซเดียม 5 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.2 มิลลิกรัม 2%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่
ประโยชน์ของผักกาดหอม
- ผักกาดหอมเป็นผักที่มีแคลอรีต่ำ จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก
- การรับประทานผักกาดหอมร่วมกับแคร์รอตและผักโขมจะช่วยบำรุงสีของเส้นผมให้สวยงามได้
- ผักกาดหอมเป็นผักที่นิยมบริโภคใบ เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นผักที่นิยมบริโภคมากที่สุดในบรรดาผักสลัด และยังนิยมนำมารับประทานสด ๆ หรือนำมาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย สำหรับคนไทยแล้วจะนิยมใช้รับประทานกับอาหารจำพวกยำต่าง ๆ เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู เป็นต้น
- นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารที่ดีแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ตกแต่งอาหารเพื่อให้มีสีสันสวยงามน่ารับประทานยิ่งขึ้น
- ปัจจุบันมีการใช้ยาง (Latex) ที่สกัดจากผักกาดหอมออกมาจำหน่ายในรูปแบบยา มีทั้งชนิดน้ำและแบบชนิดเม็ด

ผักกาดหอมเป็นพืชที่ใช้สารเคมีในการปลูกค่อนข้างมาก เพราะมีแมลงศัตรูพืชและโรคเยอะ อีกทั้งต้นยังเจริญเติบโตใกล้ผิวดิน ก่อนจะกินหรือนำมาปรุงอาหาร จึงควรฉักแยกแต่ละใบออกจากลำต้น แล้วล้างให้สะอาด อีกปัญหาที่พบบ่อยของผักกาดหอมก็คือ มีรสขมจนต้องทิ้ง ซึ่งความขมก็ขึ้นอยู่กับระยะการเก็บผลผลิตและสภาพอากาศตอนปลูก โดยความขมของผักกาดหอม เกิดจากสารแลคทูคาเรียม (Lactucarium) ที่อยู่ในยางสีขาว ซึ่งมีประโยชน์ตรงที่มีฤทธิ์ช่วยให้ผ่อนคลาย แก้ไอ และแก้ปวด
อัพเดตข่าวสารเกี่ยวกับ สุขภาพและการออกกำลังกาย ได้ที่นี้ก่อนใคร
หาเงินออนไลน์ได้ง่ายๆ แค่คลิก : PG SLOT
สุขภาพและการออกกำลังกาย