ใบเตย จัดเป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวจนถึงยอดใบ ลักษณะของใบเป็นทางยาว สีเขียวเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็ง มีขอบใบเรียบ เราสามารถนำใบเตยมาใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง ในใบเตยจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย (Fragrant screw pine) โดยกลิ่นหอมของใบเตยนั้นมากจากสารเคมีที่ชื่อว่า 2-acetyl-1-pyrroline ซึ่งเป็นกลิ่นเดียวกันกับที่ได้ใน ข้าวหอมมะลิ ขนมปังขาว และดอกชมนาด
นอกจากนี้ใบเตยยังประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญอีกหลายชนิด โดยใบเตยหอม 100 กรัมนั้นจะมีเบต้าแคโรทีน 3 ไมโครกรัม, วิตามินซี 8 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1.2 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 124 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังมีคาร์โบไฮเดรต 4.6 กรัม, โปรตีน 1.9 กรัม และให้พลังงานถึง 35 กิโลแคลอรี่ !
- เตย หรือ เตยหอม ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi
- เตย ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus odorus Ridl.) จัดอยู่ในวงศ์เตยทะเล (PANDANACEAE)
- สมุนไพรเตย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ใบส้มม่า (ระนอง), ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ใบเตยเป็นพืชที่คนไทยทุกคนต่างก็รู้จักกันดี เนื่องจากมีการนำมาใช้กันอย่างหลากหลายตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาปรุงแต่งอาหารอย่างขนมไทยให้มีกลิ่นหอม อร่อย และยังให้สีสันน่ารับประทานอีกด้วย
ประโยชน์ของ ใบเตย

- ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ (น้ำใบเตย)
- การดื่มน้ำใบเตยจะช่วยดับกระหายคลายร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น ดื่มแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย
- รสหวานเย็นของใบเตยช่วยชูกำลังได้
- การดื่มน้ำใบเตยช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้
- ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
- ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟนั้น การรับประทานอาหารที่ปรุงจากใบเตยจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นสบายสดชื่นได้
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งตามตำรับยาไทยได้มีการนำใบเตยหอม 32 ใบ, ใบของต้นสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วนำมาชงเป็นชาดื่มอย่างน้อย 1 เดือน หรือจะใช้รากประมาณ 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าเย็นก็ได้เหมือนกัน (ใบ, ราก)
- ช่วยลดความดันโลหิต (สารสกัดน้ำจากใบเตย)
- ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
- ช่วยบรรเทาอาการอาการและดับพิษไข้ได้
- ช่วยดับพิษร้อนภายในได้เป็นอย่างดี
- ใช้รักษาโรคหืด (ใบ)
- ใช้เป็นยาแก้กระษัย (ต้น, ราก)
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะด้วยการใช้ต้น 1 ต้น หรือจะใช้รากครึ่งกำมือก็ได้ นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก, ต้น)
- ใช้รักษาโรคหัดได้
- ใบเตยสดนำมาตำใช้พอกรักษาโรคผิวหนังได้
- มีการนำใบเตยมาใช้แต่งกลิ่นอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของหวานต่าง ๆ อย่างเช่น ขนมลอดช่อง ขนมชั้น รวมไปถึงเค้กและสลัด เป็นต้น
- มีการนำใบเตยมาทุบพอแตก นำไปใส่ก้นลังถึงสำหรับนึ่งขนม จะทำให้ขนมที่สุกแล้วมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก
- ใช้ใบเตยรองก้นหวดสำหรับนึ่งข้าวเหนียว เมื่อข้าวสุกแล้วจะทำให้มีกลิ่นหอมมาก
- สีเขียวของใบเตยเป็นสีของคลอโรฟิลล์ สามารถนำมาใช้แต่งสีขนมได้
- ใช้ใบเตยสดใส่ลงไปในน้ำมันที่ใช้แล้ว ตั้งไฟให้ร้อนแล้วค่อยตักใบเตยขึ้น จะทำให้น้ำมันไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดมีกลิ่นเหมือนน้ำมันใหม่
- ประโยชน์ของใบเตยกับการนำมาใช้ทำเป็นทรีตเมนต์สูตรบำรุงผิวหน้า ด้วยการใช้ใบเตยล้างสะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียด จะได้ครีมข้นเหนียวแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที
วิธีทำน้ำ ใบเตย

- น้ำใบเตยการทำน้ำใบเตยอย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ใบเตยหั่น 2 ถ้วย, น้ำตาลทราย 5 ช้อนโต๊ะ, น้ำ 4 ถ้วย, และน้ำแข็งก้อน
- นำใบเตยที่หั่นไว้ครึ่งหนึ่ง แล้วใส่ลงในโถปั่นพร้อมกับน้ำเล็กน้อย แล้วปั่นจนละเอียด
- เมื่อปั่นเสร็จให้กรองเอากากออก จะได้น้ำใบเตยสีเขียว ให้เทใส่ถ้วยแล้วพักไว้
- ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟระดับกลาง ๆ จนเดือด ใส่ใบเตยที่เหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่งลงไปต้มประมาณ 5-10 นาที
- ใส่น้ำตาลลงในหม้อต้มจนน้ำตาลละลาย แล้วให้ปิดไฟแล้วยกลง แล้วกรองเอากากออก
- หลังจากนั้นให้ยกหม้อขึ้นตั้งไฟระดับกลางอีกครั้ง รอจนเดือดแล้วปิดไฟ ยกหม้อลงปล่อยให้เย็นเป็นอันเสร็จ น้ำใบเตย ใส่น้ำแข็งเสร็จดื่มได้เลย…
เตย (Pandom wangi) หรือบางครั้งเรียก เตยหอม เป็นพืชที่นิยมใบมาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารมาก เนื่องจากใบมีกลิ่นหอมอ่อนคล้ายข้าวใหม่ ซึ่งช่วยปรับแต่งกลิ่นของอาหารให้น่ารับประทานขึ้น รวมถึงน้ำมันหอมระเหยจากใบยังใช้ประโยชน์ในทางยา และความสวยความงามได้ด้วย
ชนิด และการแพร่กระจาย
- เตยมีหนาม หรือมักเข้าใจว่า เป็นเตยต้นตัวผู้ หรือที่เรียกว่า ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ต้นออกดอก และดอกมีกลิ่นหอม ไม่นิยมนำใบมาทำอาหาร แต่นิยมใช้ดอกมาประกอบอาหาร รวมถึงนำใบใช้ในการจักสาน
- เตยไม่มีหนาม หรือมักเข้าใจว่า เป็นเตยต้นตัวเมีย หรือที่เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม มีลำต้นเล็กกว่าเตยหนาม ไม่มีดอก นิยมนำมาคั้นเอาน้ำสำหรับใช้ประกอบอาหารหรือทำขนมหวาน
เตย หรือ เตยหอม เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอินเดีย รวมถึงทวีปอื่น เช่น แอฟริกา และออสเตรเลีย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำหรือบริเวณชื้นแฉะที่มีน้ำขังเล็กน้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เตยหรือเตยหอม เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นทรงกลม และเป็นข้อสั้นๆถี่กัน โผล่ขึ้นมาจากดินเพียงเล็กน้อย โคนลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุนหรือเรียกว่า รากอากาศ ลำต้นสามารถแตกหน่อเป็นต้นใหม่ได้ ทำให้มองเป็นกอหรือเป็นพุ่มใหญ่ๆ ที่รวมความสูงของใบแล้วสามารถสูงได้มากกว่า 1 เมตร
ใบ แตกออกเป็นใบเดี่ยวด้านข้างรอบลำต้น และเรียงสลับวนเป็นเกลียวขึ้นตามความสูงของลำต้น ใบมีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปดาบ ปลายใบแหลม สีเขียวสด ใบชูเฉียงแนบไปกับลำต้น แผ่นใบเป็นมัน กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่าด้านบน มีเส้นกลางใบลึกเป็นแอ่งตื้นๆตรงกลาง ใบนี้ส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา เพราะมีน้ำมันหอมระเหย และสาร ACPY
ดอก เตยหรือเตยหอมเป็นพืชไม่ออกดอก
คุณค่าทางโภชนาการใบเตย ( 100 กรัม)
- พลังงาน : 35 กิโลแคลอรี่
- น้ำ : 85.3 กรัม
- โปรตีน : 1.9 กรัม
- ไขมัน : 0.8 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต : 4.9 กรัม
- เส้นใย : 5.2 กรัม
- เถ้า : 1.9 กรัม
- แคลเซียม : 124 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส : 27 มิลลิกรัม
- เหล็ก : 0.1 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน : 2987 ไมโครกรัม
- วิตามิน A : 498 RE
- ไทอามีน : 0.20 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน : 1.2 มิลลิกรัม
- ไนอาซีน : 3 มิลลิกรัม
- วิตามิน C : 100 กรัม
น้ำใบเตย
- นำใบเตยสดที่ไม่แก่มาก 5-10 ใบ มาล้างน้ำให้สะอาด และแช่น้ำด่างทับทิมนาน 5-10 นาที
- นำใบมาตัดตามขวาง 3-5 เซนติเมตร ก่อนนำมาปั่น
- นำใบเตยส่วนหนึ่งลงต้มในน้ำประมาณ 1 ลิตร พร้อมกับเติมน้ำตาลทรายตามความหวานที่ต้องการ
- นำน้ำต้มมากรองแยกกากออก
- นำใบเตยอีกส่วนหนึ่งมาปั่นพร้อมกับเติมน้ำ 2 แก้ว
- กรองแยกกากออกจนได้น้ำปั่นใบเตย
- นำน้ำที่กรองได้เติมใส่ในหม้อที่กำลังอุ่น ก่อนทิ้งไว้ 1-2 นาที ค่อยยกลงตั้งให้เย็น
- ชิมดูความหวาน หากหวานน้อยให้เติมน้ำตาลอีก
- เมื่อมีความหวานตามต้องการ ค่อยนำมาใส่แก้ว และน้ำแข็งดื่ม
สาระสำคัญที่พบ
กลุ่มสาร
- anthocyanin
- carotenoids
- tocopherols
- tocotrienols
- quercetin
- alkaloids
- fatty acids
- esters
- essential oils
สารสำคัญ
- 3-methyl-2(5H)-furanone เป็นสารที่ให้กลิ่นหอมขณะที่เป็นใบสด
- 2-acetyl-1-pyrroline (C6H9NO) เรียกย่อๆว่า ACPY หรือ 2AP เป็นสารที่ให้กลิ่นหอม คล้ายกับกลิ่นหอมของข้าวหอมมะลิหรือกลิ่นหอมของข้าวใหม่ ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกัน และจะให้กลิ่นเมื่อผ่านความร้อน
- benzyl acetate
- coumarin
- geraniol
- linalool
- linalool acetate
- linalyl acetate
- Pandamarilactone 1, 31 และ32
- (DL)-pandamarine
- ethyl vanillin
- 3-hexanol
- 2-hexanone
- 4-methylpentanol
- 2-pentyn-1-ol
- methional,
- N-methyllpyrrole
- 1,5-pentanediol
- 4-ethylbenzaldehyde
- beta-damascenone
- hexanoic acid
- acetic acid
สรรพคุณเตย/ใบเตย

ใบเตย
- แก้อาการเป็นไข้
- ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บหรือหลังจากการหายป่วย
- แก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- แก้ร้อนใน
- แก้กระหายน้ำ
- แก้อ่อนเพลีย
- ช่วยขับปัสสาวะ
- บำรุงหัวใจ ชูกำลัง
- ดับพิษไข้
- รักษาโรคหัด
- รักษาโรคสุกใส
- แก้โรคผิวหนัง
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
- บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย
- แก้อาการท้องอืด
- ลดความดันเลือด
- ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ
น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย
- แก้อาการหน้าท้องเกร็ง
- แก้ปวดตามข้อ และกระดูก
- ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการปวดหัว
- แก้โรคลมชัก
- ลดอาการเจ็บคอ ลดอาการอักเสบในลำคอ
ราก และลำต้นเตย
- ใช้บำรุงหัวใจ
- รักษาโรคเบาหวาน
- ทำให้คอชุ่มชื่น แก้กระหายน้ำ
- แก้ขับเบาพิการ ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยละลายก้อนนิ่วในไต
- แก้หนองใน
- แก้พิษโลหิต
- แก้กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
- แก้ตานซางในเด็ก
ฤทธิ์สำคัญทางยาที่พบ
- ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส
- ต้านอนุมูลอิสระ
- ต้านการอักเสบ
- กระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมเซลล์
อัพเดตข่าวสารเกี่ยวกับ สุขภาพและการออกกำลังกาย ได้ที่นี้ก่อนใคร
หาเงินออนไลน์ได้ง่ายๆ แค่คลิก : PG SLOT
สุขภาพและการออกกำลังกาย